|
องค์การบริหารส่วนตำบล ห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร |
ส่วนที่ ๑
ส่วนที่ ๑
บทนำ
การติดตามประเมินผลแผนพัฒนา เป็นเครื่องมือที่บ่งชี้ถึงผลสำเร็จในการดำเนินงานว่า แผนพัฒนาท้องถิ่นสามารถนำไปใช้ให้เกิดการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ และผลลัพธ์ที่ได้สามารถตอบสนองความต้องการหรือสามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง ตรงประเด็น หรือไม่ รวมถึงการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้น การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา จึงเป็นสิ่งที่บ่งชี้ความสำเร็จของการดำเนินงานขององค์กร ที่คณะผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล พนักงานส่วนตำบล รวมถึงคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น และประชาชนทุกคนพึงตระหนัก และให้ความสำคัญ เพื่อวัดระดับความสำเร็จของการดำเนินงานขององค์กรตลอดปีงบประมาณ และนำข้อมูล ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นนำไปใช้ประกอบการพัฒนาการวางแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล และเป็นเครื่องมือในการกำหนดทิศทางการพัฒนาการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๘๗ วรรค ๓ บัญญัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องรายงานการดำเนินงานต่อประชาชนในเรื่องการจัดทำงบประมาณการใช้จ่าย และผลการดำเนินงานในรอบปี เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ และกำกับการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ ยังกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี และแผนการดำเนินงาน เพื่อเป็นเครื่องมือในการใช้กำกับการใช้งบประมาณ และทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า มีความ ถูกต้องโปร่งใส และเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนและท้องถิ่น ดังนั้น การดำเนินงานตามแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงควรได้รับการติดตามและประเมินผลเพื่อให้ทราบผลการดำเนินงานว่าสามารถแก้ไขปัญหาความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริงหรือไม่รวมถึงเพื่อประเมินผลว่า การดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมหรือพิจารณายุติการดำเนินงาน
ความสำคัญของการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา
การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา เป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการปรับปรุงประสิทธิภาพของโครงการ ที่ดำเนินการอยู่ ดังนั้นการติดตาม จึงเป็นกิจกรรมภายในโครงการที่ถูกออกแบบมา เพื่อให้ข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ ปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่และประสิทธิภาพของวิธีการดำเนินงานให้ลุล่วง หากค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการสูงกว่าที่กำหนดไว้ และกลุ่มเป้าหมายหลักของโครงการไม่ได้รับประโยชน์หรือได้รับประโยชน์ น้อยกว่าที่ควรจะเป็น เกิดปัญหาในการควบคุมคุณภาพ การดำเนินงานเสียเวลาในการตรวจสอบความขัดแย้งในการปฏิบัติงานภายในหน่วยงานหรือระหว่างหน่วยงานกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ
การติดตาม (Monitoring) คือ การตรวจติดตามงาน หรือการปฏิบัติงาน เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงาน การติดตามจึงเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการควบคุมการดำเนินงาน เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานให้เป็นไปด้วยดีในทันทีที่เกิดปัญหาอุปสรรค ทั้งนี้ การติดตามแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นการตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับการดำเนินงาน ปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่และประสิทธิภาพของวิธีการดำเนินงาน หากไม่มีการติดตามผลย่อมส่งให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินงานให้ลุล่วง ปัญหาค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่กำหนดไว้ และกลุ่มเป้าหมายหลักไม่ได้รับประโยชน์หรือได้รับประโยชน์น้อยกว่าที่ควรจะเป็น
การประเมินผล (Evaluation) คือ การตรวจสอบผลการดำเนินงานในระหว่างที่กำลังดำเนินการ (On-going Evaluation) หรือภายหลังที่ดำเนินการแล้วเสร็จ (Ex-post Evaluation) ซึ่งการประเมินผลเป็นสิ่งจำเป็นเช่นเดียวกับการติดตาม การประเมินผลแผนงาน จะเป็นการบ่งชี้ว่า แผนงานที่กำหนดไว้ได้มีการปฏิบัติหรือไม่ อย่างไร อันเป็นตัวชี้วัดว่าแผนงานที่ได้ดำเนินงานไปแล้วได้ผลอย่างไร นำไปสู่ความสำเร็จตามแผนงานที่กำหนดไว้หรือไม่ ซึ่งผลที่ได้จากการติดตาม และประเมินผล ถือว่าเป็นข้อมูลย้อนกลับที่สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงและตัดสินใจในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นต่อไป
ประโยชน์ของการติดตามและประเมินผล
๑. การจัดสรรทรัพยากรขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ก่อให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่า การติดตามประเมินผลทำให้ทราบว่ากิจกรรมใดบ้างใช้ทรัพยากรในการดำเนินการได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
๒. ทำให้ทราบผลการปฏิบัติงานของหน่วยงาน การประเมินผลจะแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติงานของส่วนต่างๆ ว่าเป็นไปตามเป้าหมาย หรือตัวชี้วัดที่ผู้บริหารท้องถิ่นกำหนดหรือไม่
๓. ใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความดี ความชอบ และการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบล ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน หากการปฏิบัติงานเป็นไปตามเป้าหมาย ตัวชี้วัด ที่กำหนดสมควรได้รับการพิจารณาความดี
จุดประสงค์ของการติดตามและประเมินผล
๑. เพื่อการดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทราบปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานเกิดประโยชน์ กับประชาชน สนองตอบความต้องการของประชาชนได้เป็นอย่างดี
๒. เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนดไว้
๓. เพื่อทราบปัญหา ความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตรงจุด
๔. เพื่อใช้เป็นข้อแนะนำผู้บริหารท้องถิ่นในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในปีต่อไป
วิธีการติดตามและประเมินผล
การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปีขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ประกอบด้วย กระบวนการติดตาม และการประเมินผลลัพธ์ ซึ่งสามารถอธิบายรายละเอียดได้ ดังนี้
การติดตามแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี เป็นการตรวจสอบในระหว่างดำเนินกิจกรรมตามโครงการว่าสามารถเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถระดมความคิด ในการปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานที่จะสามารถนำไปสู่การบรรลุแผนที่กำหนดไว้ได้ เครื่องมือที่ใช้ในการติดตามผลการดำเนินงาน ได้แก่แบบติดตามผลการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ซึ่งประกอบด้วย การติดตามการดำเนินงานของโครงการ และการเปลี่ยนแปลงโครงการติดตามภาระค่าใช้จ่ายงบประมาณ การติดตามโครงการที่ได้รับเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ตลอดจนปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงาน การประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี เป็นการตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นจริง เมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
การกำหนดห้วงเวลาในการติดตามและประเมินผล
กำหนดห้วงระยะเวลาในการติดตามและประเมินผลโครงการ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมของ แต่ละโครงการ โดยกำหนดให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการทุกครั้งที่ดำเนินการแล้วเสร็จ และกำหนดให้มีการประชุมสัมมนาพร้อมติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ในภาพรวม อย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง แล้วรายงานผลและเสนอความเห็นที่ได้รับการติดตาม และประเมินผลต่อผู้บริหารท้องถิ่น เพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่นนำเสนอต่อสภาท้องถิ่น คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น และประเมินผลการติดตาม ประเมินผลแผนพัฒนาให้ประชาชนในท้องถิ่น ทราบโดยทั่วกันอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้งภายในเดือนเมษายนและเดือนตุลาคมของทุกปี
งานวิเคราะห์นโยบายและแผน
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง
ตุลาคม ๒๕๖๑
ส่วนที่ ๒
ส่วนที่ ๒
ประเด็นการประเมิน |
มีการดำเนินงาน |
ไม่มีการดำเนินงาน |
ส่วนที่ ๑ คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น |
|
|
๑. มีการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น |
P |
|
๒. มีการจัดประชุมคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น |
P |
|
๓. มีการจัดประชุมอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ |
P |
|
๔. มีการจัดตั้งคณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น |
P |
|
๕. มีการจัดประชุมคณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น |
P |
|
๖. มีคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นและประชาคมท้องถิ่นพิจารณาร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา |
P |
|
ส่วนที่ ๒ การจัดทำแผนการพัฒนาท้องถิ่น |
|
|
๗. มีการรวบรวมข้อมูลและปัญหาสำคัญของท้องถิ่นมาจัดทำฐานข้อมูล |
P |
|
๘. มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผน |
P |
|
๙. มีการวิเคราะห์ศักยภาพของท้องถิ่น (SWOT) เพื่อประเมนสถานภาพการพัฒนาท้องถิ่น |
P |
|
๑๐. มีการกำหนดวิสัยทัศน์และภารกิจหลักการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับศักยภาพของท้องถิ่น |
P |
|
ประเด็นการประเมิน |
มีการดำเนินงาน |
ไม่มีการดำเนินงาน |
๑๑. มีการกำหนดวิสัยทัศน์และภารกิจหลักการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัด |
P |
|
๑๒. มีการกำหนดจุดมุ่งหมายการพัฒนาที่ยังยืน |
P |
|
๑๓. มีการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาท้องถิ่น |
P |
|
๑๔. มีการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนา |
P |
|
๑๕. มีการกำหนดยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจังหวัด |
P |
|
๑๖. มีการอนุมัติและประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา |
P |
|
๑๗. มีการจัดทำบัญชีกลุ่มโครงการในแผนยุทธศาสตร์ |
P |
|
๑๘. มีการกำหนดรูปแบบการติดตามประเมินผลแผนยุทธศาสตร์ |
P |
|
คำชี้แจง : แบบที่ ๒ เป็นแบบติดตามตนเอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้แผนยุทศศาสตร์ ๕ ปี โดยมีกำหนดระยะเวลาในการติดตามและรายงานผลการดำเนินงานทุกๆ ๓ เดือน เริ่มต้นและสิ้นสุดการดำเนินงานทุกๆ ๓ เดือน เริ่มตั้งแต่สิ้นสุดการดำเนินงานในเดือนตุลาคม – ธันวาคม หรือไตรมาสที่ ๑
ส่วนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป
๑. ชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง
๒. รายงานผลการดำเนินงานไตรมาสที่
(๑) Pไตรมาสที่ ๑ (ตุลาคม – ธันวาคม) (๒) ไตรมาสที่ ๒ (มกราคม – มีนาคม)
(๓) ไตรมาสที่ ๓ (เมษายน - มิถุนายน) (๔) ไตรมาสที่ ๔ (กรกฎาคม – กันยายน)
ส่วนที่ ๒ ผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี
ส่วนที่ ๒
ส่วนที่ ๒
ประเด็นการประเมิน |
มีการดำเนินงาน |
ไม่มีการดำเนินงาน |
ส่วนที่ ๑ คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น |
|
|
๑. มีการจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น |
P |
|
๒. มีการจัดประชุมคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น |
P |
|
๓. มีการจัดประชุมอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ |
P |
|
๔. มีการจัดตั้งคณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น |
P |
|
๕. มีการจัดประชุมคณะกรรมการสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น |
P |
|
๖. มีคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่นและประชาคมท้องถิ่นพิจารณาร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา |
P |
|
ส่วนที่ ๒ การจัดทำแผนการพัฒนาท้องถิ่น |
|
|
๗. มีการรวบรวมข้อมูลและปัญหาสำคัญของท้องถิ่นมาจัดทำฐานข้อมูล |
P |
|
๘. มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผน |
P |
|
๙. มีการวิเคราะห์ศักยภาพของท้องถิ่น (SWOT) เพื่อประเมนสถานภาพการพัฒนาท้องถิ่น |
P |
|
๑๐. มีการกำหนดวิสัยทัศน์และภารกิจหลักการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับศักยภาพของท้องถิ่น |
P |
|
ประเด็นการประเมิน |
มีการดำเนินงาน |
ไม่มีการดำเนินงาน |
๑๑. มีการกำหนดวิสัยทัศน์และภารกิจหลักการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัด |
P |
|
๑๒. มีการกำหนดจุดมุ่งหมายการพัฒนาที่ยังยืน |
P |
|
๑๓. มีการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาท้องถิ่น |
P |
|
๑๔. มีการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนา |
P |
|
๑๕. มีการกำหนดยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจังหวัด |
P |
|
๑๖. มีการอนุมัติและประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา |
P |
|
๑๗. มีการจัดทำบัญชีกลุ่มโครงการในแผนยุทธศาสตร์ |
P |
|
๑๘. มีการกำหนดรูปแบบการติดตามประเมินผลแผนยุทธศาสตร์ |
P |
|
คำชี้แจง : แบบที่ ๒ เป็นแบบติดตามตนเอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้แผนยุทศศาสตร์ ๕ ปี โดยมีกำหนดระยะเวลาในการติดตามและรายงานผลการดำเนินงานทุกๆ ๓ เดือน เริ่มต้นและสิ้นสุดการดำเนินงานทุกๆ ๓ เดือน เริ่มตั้งแต่สิ้นสุดการดำเนินงานในเดือนตุลาคม – ธันวาคม หรือไตรมาสที่ ๑
ส่วนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป
๑. ชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง
๒. รายงานผลการดำเนินงานไตรมาสที่
(๑) Pไตรมาสที่ ๑ (ตุลาคม – ธันวาคม) (๒) ไตรมาสที่ ๒ (มกราคม – มีนาคม)
(๓) ไตรมาสที่ ๓ (เมษายน - มิถุนายน) (๔) ไตรมาสที่ ๔ (กรกฎาคม – กันยายน)
ส่วนที่ ๒ ผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี
ส่วนที่ ๑
ส่วนที่ ๑
บทนำ
การติดตามประเมินผลแผนพัฒนา เป็นเครื่องมือที่บ่งชี้ถึงผลสำเร็จในการดำเนินงานว่า แผนพัฒนาท้องถิ่นสามารถนำไปใช้ให้เกิดการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ และผลลัพธ์ที่ได้สามารถตอบสนองความต้องการหรือสามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง ตรงประเด็น หรือไม่ รวมถึงการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดังนั้น การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา จึงเป็นสิ่งที่บ่งชี้ความสำเร็จของการดำเนินงานขององค์กร ที่คณะผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล พนักงานส่วนตำบล รวมถึงคณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น และประชาชนทุกคนพึงตระหนัก และให้ความสำคัญ เพื่อวัดระดับความสำเร็จของการดำเนินงานขององค์กรตลอดปีงบประมาณ และนำข้อมูล ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้นนำไปใช้ประกอบการพัฒนาการวางแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล และเป็นเครื่องมือในการกำหนดทิศทางการพัฒนาการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๘๗ วรรค ๓ บัญญัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องรายงานการดำเนินงานต่อประชาชนในเรื่องการจัดทำงบประมาณการใช้จ่าย และผลการดำเนินงานในรอบปี เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ และกำกับการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ ยังกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี และแผนการดำเนินงาน เพื่อเป็นเครื่องมือในการใช้กำกับการใช้งบประมาณ และทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า มีความ ถูกต้องโปร่งใส และเกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนและท้องถิ่น ดังนั้น การดำเนินงานตามแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงควรได้รับการติดตามและประเมินผลเพื่อให้ทราบผลการดำเนินงานว่าสามารถแก้ไขปัญหาความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริงหรือไม่รวมถึงเพื่อประเมินผลว่า การดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมหรือพิจารณายุติการดำเนินงาน
ความสำคัญของการติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา
การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนา เป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการปรับปรุงประสิทธิภาพของโครงการ ที่ดำเนินการอยู่ ดังนั้นการติดตาม จึงเป็นกิจกรรมภายในโครงการที่ถูกออกแบบมา เพื่อให้ข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ ปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่และประสิทธิภาพของวิธีการดำเนินงานให้ลุล่วง หากค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการสูงกว่าที่กำหนดไว้ และกลุ่มเป้าหมายหลักของโครงการไม่ได้รับประโยชน์หรือได้รับประโยชน์ น้อยกว่าที่ควรจะเป็น เกิดปัญหาในการควบคุมคุณภาพ การดำเนินงานเสียเวลาในการตรวจสอบความขัดแย้งในการปฏิบัติงานภายในหน่วยงานหรือระหว่างหน่วยงานกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ
การติดตาม (Monitoring) คือ การตรวจติดตามงาน หรือการปฏิบัติงาน เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงาน การติดตามจึงเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการควบคุมการดำเนินงาน เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานให้เป็นไปด้วยดีในทันทีที่เกิดปัญหาอุปสรรค ทั้งนี้ การติดตามแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นการตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับการดำเนินงาน ปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่และประสิทธิภาพของวิธีการดำเนินงาน หากไม่มีการติดตามผลย่อมส่งให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินงานให้ลุล่วง ปัญหาค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่กำหนดไว้ และกลุ่มเป้าหมายหลักไม่ได้รับประโยชน์หรือได้รับประโยชน์น้อยกว่าที่ควรจะเป็น
การประเมินผล (Evaluation) คือ การตรวจสอบผลการดำเนินงานในระหว่างที่กำลังดำเนินการ (On-going Evaluation) หรือภายหลังที่ดำเนินการแล้วเสร็จ (Ex-post Evaluation) ซึ่งการประเมินผลเป็นสิ่งจำเป็นเช่นเดียวกับการติดตาม การประเมินผลแผนงาน จะเป็นการบ่งชี้ว่า แผนงานที่กำหนดไว้ได้มีการปฏิบัติหรือไม่ อย่างไร อันเป็นตัวชี้วัดว่าแผนงานที่ได้ดำเนินงานไปแล้วได้ผลอย่างไร นำไปสู่ความสำเร็จตามแผนงานที่กำหนดไว้หรือไม่ ซึ่งผลที่ได้จากการติดตาม และประเมินผล ถือว่าเป็นข้อมูลย้อนกลับที่สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงและตัดสินใจในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นต่อไป
ประโยชน์ของการติดตามและประเมินผล
๑. การจัดสรรทรัพยากรขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ก่อให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่า การติดตามประเมินผลทำให้ทราบว่ากิจกรรมใดบ้างใช้ทรัพยากรในการดำเนินการได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
๒. ทำให้ทราบผลการปฏิบัติงานของหน่วยงาน การประเมินผลจะแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติงานของส่วนต่างๆ ว่าเป็นไปตามเป้าหมาย หรือตัวชี้วัดที่ผู้บริหารท้องถิ่นกำหนดหรือไม่
๓. ใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความดี ความชอบ และการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนตำบล ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน หากการปฏิบัติงานเป็นไปตามเป้าหมาย ตัวชี้วัด ที่กำหนดสมควรได้รับการพิจารณาความดี
จุดประสงค์ของการติดตามและประเมินผล
๑. เพื่อการดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทราบปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานเกิดประโยชน์ กับประชาชน สนองตอบความต้องการของประชาชนได้เป็นอย่างดี
๒. เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่กำหนดไว้
๓. เพื่อทราบปัญหา ความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตรงจุด
๔. เพื่อใช้เป็นข้อแนะนำผู้บริหารท้องถิ่นในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นในปีต่อไป
วิธีการติดตามและประเมินผล
การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปีขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ประกอบด้วย กระบวนการติดตาม และการประเมินผลลัพธ์ ซึ่งสามารถอธิบายรายละเอียดได้ ดังนี้
การติดตามแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี เป็นการตรวจสอบในระหว่างดำเนินกิจกรรมตามโครงการว่าสามารถเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถระดมความคิด ในการปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานที่จะสามารถนำไปสู่การบรรลุแผนที่กำหนดไว้ได้ เครื่องมือที่ใช้ในการติดตามผลการดำเนินงาน ได้แก่แบบติดตามผลการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ซึ่งประกอบด้วย การติดตามการดำเนินงานของโครงการ และการเปลี่ยนแปลงโครงการติดตามภาระค่าใช้จ่ายงบประมาณ การติดตามโครงการที่ได้รับเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ตลอดจนปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงาน การประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี เป็นการตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นจริง เมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
การกำหนดห้วงเวลาในการติดตามและประเมินผล
กำหนดห้วงระยะเวลาในการติดตามและประเมินผลโครงการ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมของ แต่ละโครงการ โดยกำหนดให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการทุกครั้งที่ดำเนินการแล้วเสร็จ และกำหนดให้มีการประชุมสัมมนาพร้อมติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง ในภาพรวม อย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง แล้วรายงานผลและเสนอความเห็นที่ได้รับการติดตาม และประเมินผลต่อผู้บริหารท้องถิ่น เพื่อให้ผู้บริหารท้องถิ่นนำเสนอต่อสภาท้องถิ่น คณะกรรมการพัฒนาท้องถิ่น และประเมินผลการติดตาม ประเมินผลแผนพัฒนาให้ประชาชนในท้องถิ่น ทราบโดยทั่วกันอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้งภายในเดือนเมษายนและเดือนตุลาคมของทุกปี
งานวิเคราะห์นโยบายและแผน
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง
ตุลาคม ๒๕๖๑